วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนต่อต่างประเทศ ไปเรียนเมืองไหน ประเทศไหนดีนะ (1 - ออสเตรเลีย)

สวัสดีค่ะ พี่ๆน้องๆทุกท่านที่สนใจเรียนต่อต่างประเทศ บล็อกนี้เป็นอีกหนึ่งบล็อกดีๆที่จะมาแนะนำข้อมูลเรื่องเรียนต่างประเทศให้กับผู้สนใจหรือกำลังตัดสินใจเรียนต่อต่างประเทศค่ะ ซึ่งจะมีข้อมูล รายละเอียด ข่าวสารอัพเดทและเคล็ดลับในการเดินทางหรือใช้ชีวิตที่ต่างแดนค่ะ โดยพี่ๆที่มีประสบการณ์เรียนต่อต่างประเทศและแนะแนวน้องๆมากว่าพันคนให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการศึกษาต่อค่ะ

สำหรับฉบับนี้ ขอเอาใจน้องๆที่กำลังคิดถึงประเทศออสเตรเลียกันก่อนนะคะ ส่วนประเทศอื่นๆติดตามได้ในฉบับต่อๆไปได้ค่ะ มาดูกันเลยค่ะ ประเทศออสเตรเลียมีเมืองไหนที่น่าเรียนอยู่บ้าง และแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้เลือกเรียนในเมืองที่ "ใช่เลยอ่ะ"...


Australia
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ทวีปค่ะ ดังนั้นและมีพื้นที่มากและมีหลายเมืองที่น่าสนใจสำหรับการเรียนต่อค่ะ

ทำความรู้จักกับดินแดนจิงโจ้แห่งซีกโลกใต้

จิงโจ้และโคอาล่าอาจเป็น 2 สิ่งแรกที่นึกถึงเมื่อเอ่ยชื่อ "ออสเตรเลีย"แต่ในความจริงแล้วประเทศในซีกโลกใต้ประเทศนี้ยังมีอะไรอีกมากมายให้ชม ให้ชิม ให้สัมผัสออสเตรเลียเป็นประเทศ "ใหม่" ที่ตั้งอยู่บนดินแดนอันเก่าแก่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกแม้จะมีประวัติความเป็นมาในการตั้งถิ่น ฐานของมนุษย์ที่ไม่ยาวนานและไม่มีอารยธรรมโบราณที่เป็นรากเหง้าของอารยธรรม โลกแต่ออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าไปเยือนอย่างยิ่งด้วยความมี น้ำใจไมตรีของผู้คนและความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ


  • Sydney
หลายๆคนรู้จักประเทศออสเตรเลีย เพราะเมืองซิดนีย์ โดยสัญลักษณ์ที่เด่นตระการตาด้วย Opera House ที่ใครไปก็ต้องถ่ายรูปกัน และบางคนเข้าใจว่าเมืองนี้เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งผิดค่ะ จริงๆแล้วเมืองหลวงของออสเตรเลียคือเมืองCanberra ซึ่งเป็นเมืองศูนย์ราชการเลยล่ะ ส่วนซิดนีย์เป้นเมืองอ่าว ท่าเรือและธุรกิจ

นักเรียนไทยรวมถึงต่างชาติจากทั่วโลกเดินทางมาที่เมืองนี้เพื่อเรียนต่อกันมากมายค่ะ ที่ซิดนีย์มีสถาบันการศึกษามากมาย ทุกระดับ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแรกของออสเตรเลียด้วย นั่นคือ the University of Sydney

ถ้าน้องๆชอบเมืองที่มีสีสัน ครึกครื้น มีสถานที่ท่องเที่ยวและมีร้านค้า ธุรกิจมากมาย ดังนั้นโอกาสการหางานมีมากมาย ซิดนีย์เป็นเมืองที่ใช่เลยค่ะ



  • Melbourne
เมืองเมลเบิร์นเป็นเมืองใหญ่อันดับสอง รองจากนครซิดนีย์ และเป็นเมืองหลวงของรัฐวิคตอเรีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ในอดีตเมอืงสวยๆนี้เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศออสเตรเลียมาก่อนด้วยค่ะ ตอนนี้กำลังมาแรงสำหรับนักเรียนต่างชาติเลยค่ะ เมืองนี้เป็นเมืองที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ซึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย แต่เมืองนี้จำนวนของนักเรียนต่างชาติไม่มากเท่าซิดนีย์นะคะ มีสถาบันการศึกษาคุณภาพมากมายทั้งของรัฐบาลและเอกชน

บรรยากาศเมืองที่สดชื่น ร้านอาหารสุดอร่อย แฟชั่นและศิลปะคือเอกลักษณ์ของเมืองนี้

สถานที่ท่องเที่ยวเด่นของเมืองนี้คือ Cook’s Cottage, Fitzroy Gardens, Flinders Street Station, Queen Victoria Market, Eureka Skydeck 88 เป็นต้นค่ะ



  • Brisbane
บริสเบนเป็นเมืองหลวงของรัฐควีนส์แลนด์และเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สามของประเทศออสเตรเลีย จัดได้ว่าเมืองนี้เป้นเมืองท่องเที่ยวและเมืองธุรกิจอีกหนึ่งเมืองค่ะ และใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆของออสเตรเลีย เช่น Gold Coast และ Sunshine Coast รวมถึง the Great Barrier Reef ค่ะ

ที่เมืองนี้มีสถาบันวิชาชีพรัฐบาลชั้นนำคือ Southbank Institute of Technology และมหาวิทยาลัยที่เป็นหนึ่งในG8คือ the University of Queenslandค่ะ ใครไม่อยากไปซิดนีย์หรือเมลเบิร์น เมืองนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกค่ะ


  • Gold Coast

Gold Coastเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของออสเตรเลีย เป็นเมืองที่ติดมหาสมุทรแปซิฟิก บรรยากาศเมืองก็เป็นแนวชายหาด คลื่นลม ก็จะมีหนุ่มๆสาวๆออสซี่มาเล่นโต้คลื่นกันที่นี่เยอะเลยค่ะ 

จุดเด่่นของเมืองนี้ แน่นอนค่ะ เนื่องจากเป็นเมืองพักผ่อนหย่อนใจ ดังนั้นธุรกิจงานบริการ ร้านค้าต่างๆมีมากมาย โอกาสการหางานก็ต้องมีค่อนข้างสูงเป็นธรรมดา ที่สำคัญนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนที่เมืองนี้ยังไม่มากนัก ดังนั้นเมืองนี้น่าสนใจในการไปเรียนและทำงานที่ออสเตรเลียค่ะ


  • Perth
เมืองPerthนั้นเป็นเมืองหลวงของรัฐWestern Australia ซึ่งอยู่ซีกซ้ายของทวีป ใช้เวลาเดินทางจากไทยประมาณ6ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งมีมหาวิทยาลัยดังๆระดับโลกมากมายทั้ง The University of Western Australia , Murdoch University, Edith Cowan University, Curtin University of Technology เป็นต้น นอกจากนี้มีสถาบันวิชาชีพและภาษาคุณภาพด้วย

ไม่นานนี้ทางฝ่ายการศึกษาของรัฐWestern Australiaได้เน้นประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนต่างชาติเลือกเมืองเพิร์ธเป็นจุดหมายของการศึกษาต่อ โดยใช้celebชื่อดังของประเทศไทยคือ Paula Taylor ที่เกิดและโตจากที่เมืองนี้ เพื่อแสดงถึงความเป็นกันเองและน่ารักของเมืองเพิร์ธค่ะ ใครอยากไปเรียนที่นี่ คนไทยยังน้อย แนะนำเลยค่ะ!!!


  • Darwin
Darwinเป็นเมืองหลวงของNorthern Territory รัฐที่อยู่ด้านบนสุดของประเทศออสเตรเลีย มีสถาบันการศึกษาตั้งแต่โรงเรียนสอนภาษาจนถึงมหาวิทยาลัย เช่น Charles Darwin University, Northern Territory University (TAFE Division) และNavitas English เป็นต้น ที่เมืองนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆดังๆคือ Uluru หรือ Ayers Rock ซึ่งเป็นหินขนาดใหญ่ที่จะเปลี่ยนสีไปตามแสงสะท้อนของแสงแดด

คนไทยที่นี่ยังน้อยมาก ใครไม่ชอบเจอคนไทยรวมถึงนักเรีัยนต่างชาติ เมืองนี้เหมาะสุดๆค่ะ



  • Adelaide
เมืองหลวงของรัฐSouth Australia ที่เด่นด้านวัฒนธรรมและความงดงามของเมือง พร้อมด้วยการส่งออกการเกษตร เช่นพวกขนแกะและไวน์ เป็นที่ตั้งของ University of South Australia  

เมืองนี้ดีตรงที่เป็นเมืองเงียบๆ เหมาะแก่การศึกษาต่อมากเลยค่ะ ไม่วุ่นวายหรือมีสิ่งบันเทิงมากนัก น้องๆคนไหนชอบแนวสบายๆ เงียบๆ ตั้งใจเรียนหนังสือจริงจัง เมืองAdelaideนี้เลยค่ะ




  • Tasmania
รัฐTasmaniaนี้เป็นรัฐที่เล็กที่สุดของออสเตรเลีย และเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเกาะเล็กๆล้อมรอบอยู่ มีเมืองหลวงคือเมืองHobart ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นSwitzerland ของออสเตรเลียด้วย

รัฐนี้เป็นอีกที่หนึ่งทางเลือกหนึ่งสำหรับการเรียนต่อ เพราะสภาพอากาศ บรรยากาศเหมาะมาก ไม่วุ่นวายเหมือนเมืองใหญ่ ซึ่งรัฐนี้มีมหาวิทยาลัย University of Tasmania (UTAS)และสถาบันวิชาชีพ รวมถึงกลุ่มโรงเรียนรัฐบาลที่คุณภาพด้วย

เอาเป็นว่าถ้าน้องๆคนไหนมีแนวทางแล้วว่าออสเตรเลียนี่ละ ที่อยากไปเรียนต่อ แต่ยังไม่แน่ใจเรื่องเมือง ลองติดตามสอบถามและขอคำปรึกษากับพี่ๆแนะแนวที่น่ารักและพร้อมให้ข้อมูลน้องๆอย่างเต็มที่ได้ที่ ชั้น 9 อาคารพหลโยธินเพลส ใกล้กับรถไฟฟ้าสถานีอารีย์ หรือโทร 02 278 1236 สายด่วน 090 880 9995 อีเมล์ info@cpinter.co.th หรือพูดคุยกันสดๆบนเว็บ www.cpinter.co.th ได่้เลยค่ะ

อ้อ! โอกาสดีมาถึงแล้วนะคะ CP Inter กรุงเทพจัดงานสัมมนาถึง 3งาน วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม - "เรียนป.ตรีอย่างไรให้จบไวและเรียนและทำงานที่ซิดนีย์คุ้มสุดๆ"

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน - “เรียนภาษาและสายอาชีพพร้อมโอกาสการทำงานที่ออสเตรเลีย”

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม - "เคล็ด(ไม่)ลับเรื่องเรียน+ทำงานและเส้นทางสู่ปริญญาตรีในออสเตรเลีย"

ใครสนใจ สำรองที่นั่งกันด่วนนะคะ จำกัดแค่30ที่เท่านั้น พร้อมค่าสมัครฟรี และทดสอบภาษาอังกฤษกันฟรีๆอีกด้วย ที่สำคัญค่าเล่าเรียนสุดพิเศษเฉพาะงานนี้เท่านั้น! โทร 022781236 หรือ 0908809994 หรือ info@cpinter.co.th ค่ะ แล้วเจอกันค่ะ!

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จากนักเรียนสู่ PR ในยุค 2010

ปี 2010 นี้เป็นปีแห่งความปั่นป่วนในแง่ของวีซ่ากันจริงๆ คุณหมอวีซ่าได้เขียนเรื่องไปเมื่อ 2-3 ฉบับที่ผ่านมาถึงแนวโน้มในปัจจุบันของรัฐบาลออสเตรเลียที่เริ่มมีนโยบายปิดประตูเมือง ตัดผู้ขอวีซ่าทักษะโดยการเปลี่ยนกฎอย่างไม่มีการแจ้งล่วงหน้า โดยการไม่ออกวีซ่านักเรียนให้อย่างง่ายๆเหมือนกับที่เคยผ่านมาอีกแล้ว นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็จะได้แก่กลุ่มที่ได้ลงทะเบียนเรียนไปแล้ว บ้างก็ใกล้จบกันแล้ว โดยได้ลงเรียนในวิชาที่เป็นไปตามกฎสมัยนั้น แต่มาเจอการเปลี่ยนกฎอย่างกระทันหันก็น่าเห็นใจมาก แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เรียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราว หรือกำลังเรียนภาษาอังกฤษใกล้จบ ฉบับนี้คุณหมอวีซ่าขอเสนอขั้นตอนและแนะแนวทางจากการเรียนไปสู่ PR ที่คิดว่าปลอดภัยและมีความเป็นไปได้สำหรับนักศึกษาทั้งหลายนะคะ


จากการติดตามอ่านทั้งความคืบหน้าของกฎเกณฑ์และนโยบายของรัฐฯ ข้อเสนอที่กลุ่มชนต่างๆเขียนเข้าไปเสนอรัฐบาลกันมากมาย ก็พอจะสรุปได้ว่า ในยุคนี้ นักศึกษานานาชาติที่ต้องการจะอาศัยช่องทางแห่งการศึกษาเพื่อก้าวไปสู่วีซ่าทำงานและในที่สุดสู่วีซ่าถาวร (Permanent Resident หรือ PR) นั้น มีแนวโน้มสูงมากที่อาจจะต้องหันกลับมาลงเรียนในหลักสูตรปริญญาโดยเฉพาะสำหรับเด็กไทยก็คือต่อโทดั่งที่เคยเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนที่รัฐบาลออสเตรเลียจะมาเปิดรับช่างทั้งหลาย เช่น กุ๊ก ช่างทำผม ช่างขนมอบ เป็นต้น

คุณหมอวีซ่ามีวีซ่าตัวดีๆที่อยากนำเสนอน้องๆที่ตั้งใจจะเรียนในสายวิชาชีพเพื่อก้าวไปสู่ตำแหน่งและหน้าที่การงานดีๆ เพื่ออนาคตที่สดใส รากฐานที่มั่นคงสร้างกันไม่ง่าย ต้องอาศัยเงินทองและความมุมานะ แต่ถ้าน้องๆ มีความพยายามกัน ก็อยากแนะให้เดินให้มันถูกทาง อย่าไปฟังคนโน้น คนนี้ ชักจูง หว่านล้อมจนทำให้เราเขวและเสียอานาคตไปเปล่าๆ อีกทั้งเวลาและเงินทองที่เสียไป ใช่ว่าจะเรียกคืนกลับมาได้ง่ายๆที่ไหน วีซ่า in-trend ที่พูดถึงนั้นก็คือเป็นประเภทที่เข้าข่ายมีนายจ้างสปอนเซอร์ หรือที่เรียกว่า:

Employer Nomination Scheme

จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้ รัฐบาลออสเตรเลียได้ส่งเสริมให้ผู้คนพยายามหางานทำและให้นายจ้างสปอนเซอร์ตน โดยการเปิดช่องทางวีซ่าตัวนี้ให้มีการผ่านอนุมัติได้อย่างง่ายๆและรวดเร็ว จะเห็นได้ว่า อิมมิเกรชั่นได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าวีซ่าตัวนี้ มีไว้ให้นายจ้างต่างๆในออสเตรเลียสปอนเซอร์ลูกจ้างชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงหรือมีความชำนาญในสาขาวิชาชีพต่างๆให้เข้ามาทำงานในออสเตรเลียได้อย่างถาวร ส่วนลูกจ้างที่จะมีสิทธิ์ขอวีซ่าตัวนี้ได้ อิมฯระบุไว้ว่าจะต้อง

เป็น Highly skilled workers from overseas คือมีทักษะสูงตรงมาจากต่างประเทศ หรือ

เป็น Highly skilled temporary resident currently in Australia หรือเป็นผู้มีทักษะสูงที่ถือวีซ่าชั่วคราวอยู่ในออสเตรเลียอยู่แล้ว


ถ้าได้วีซ่าตัวนี้มาน้องๆก็สามารถที่จะ

- อยู่และทำงานอย่างถาวรใน Australia ได้ตลอดไป

- เรียนหนังสือในออสเตรเลียได้สิทธิ์เหมือนคนที่นี่

-ได้รับผลประโยชน์ทางประกันสุขภาพ (Medicare) และ เภสัช (Pharmaceutical Benefit Scheme)

- มีสิทธิ์รับผลประโยชน์ทางสังคมสงเคราะห์ (Social Security Payment) หลังผ่านช่วงจำกัดไปแล้ว

- มีสิทธิ์ขอสัญชาติออสเตรเลียได้

- มีสิทธิ์เป็นสปอนเซอร์ให้กับญาติพี่น้องหรือแฟน ให้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในออสเตรเลียกับตนได้อย่างถาวร

เงื่อนไขของวีซ่าตัวนี้ก็มีอยู่ประการใหญ่ๆดังนี้

นายจ้าง : ต้องผ่านการอนุมัติให้เป็นนายจ้างที่มีสิทธิ์สปอนเซอร์ลูกจ้างได้ (Qualified Employer) และต้องมีตำแหน่งงานรับรองให้ลูกจ้างเป็นเวลาอย่างต่ำ 3 ปี จ่ายเงินเดือนและอำนวยสภาวะการทำงานให้กับลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานของออสเตรเลีย

ลูกจ้าง : อายุต้องต่ำกว่า 45 สอบ IELTS ได้ 5 เป็นขั้นต่ำ (แต่อาจมีข้อยกเว้นให้เรื่องอายุกับภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งคนที่เสนอจะต้องเป็นประเภทที่ต้องอาศัยทักษะสูง (Highly Skilled) และเป็นอาชีพที่ลงไว้อยู่ในรายการอาชีพ Employer Nomination Scheme Occupation List หรือ ENSOL

สำหรับเงินเดือนจ้างก็ต้องเป็นไปตามอัตราในท้องตลาด สำหรับคนที่ทำงานในตำแหน่งใกล้เคียงกันตามที่ตีพิมพ์อยู่ใน Gazette Notice ของรัฐบาล แต่ขั้นต่ำก็ต้องเป็น $45,220 ต่อปี + 9% Superannuation

และผู้สมัครก็แน่นอน จะต้องผ่านการตรวจสุขภาพกับสันติบาลก่อนที่วีซ่าจะออกได้นะคะ

อาชีพในสาย Engineering กับ IT

หากท่านผู้อ่านขยันติดตามอ่านข่าวเกี่ยวกับแรงงานในสายอาชีพต่างๆที่ขาดแคลน จะเห็นได้ว่าช่วงนี้ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ขาดแคลนวิศวกรกับผู้เชี่ยวชาญทาง IT เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะที่ Western Australia ขาด Mining Engineers อย่างแรง เนื่องจากมีเหมืองมากมายที่จะต้องไปขุดไปคุ้ยกัน และแน่นอนหากอยากได้ทำงานในสายนี้หรือสาย IT เงินเดือนขั้นต่ำตามกำหนดก็จะเป็น $61,920 + 9% Superannuation ต่อปี คิดเป็นเงินไทยก็ราวๆ 160,000 – 110,000 บาท ต่อเดือน โดยรวมเงินบำนาญ 9% ที่นายจ้าง ต้องเป็นฝ่ายจ่ายสมทบอยู่ในนี้ด้วย

ดังนั้นหากน้องๆถามว่า จะให้สมัครเรียนอะไรดีในช่วงนี้เพื่อจะ Make sure ว่าได้ PR หลังจบ?

คุณหมอวีซ่าก็อยากเชียร์ใหน้องๆที่มี Background Engineer, วิทยาศาสตร์, IT มาพบพี่ๆที่ CP เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรที่เป็นที่รับรองของสมาคม Engineers Australia (GA) หรือ Australian Computer Society (ACS) วันนี้คุณหมอวีซ่ามี 4 มหาวิทยาลัยใหญ่ๆดังๆที่อยากแนะนำให้น้องๆ ไปลงเรียนกันดังนี้:

University of Sydney

ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของออสเตรเลียหรือถ้าเทียบก็เหมือนจุฬาลงกรณ์ฯของบ้านเรา

หลักสูตรที่น่าสนใจในสาย Engineers กับ IT ก็คือ Master of Professional Engineer, Master of Information Technology

มหาวิทยาลัย UTS

มีหลักสูตร นักเรียนไทยที่อยากต่อปริญญาโททางสายวิศวกรรม เช่น Master of Engineering, Master of Engineering Management และอื่นๆอีกมากมาย

Macquarie University

มาแรงในสาย IT ตั้งแต่หลักสูตร Master of Information Technology ในแทบทุกสาขาที่ใช้ขอ PR ได้ก็ว่าได้ เช่น IT ในสาย Information Systems, Software Engineering, System ad Network Management, System Security และ Web Technologies เป็นต้น

UNSW

ที่เด่นและดังแล้วเป็นที่ขาดแคลนในตลาดงานของออสเตรเลียก็คงหนีไม่พ้นสาขาทางด้าน Mining engineering และ Biomedical Engineering ซึ่งมีเปิดสอนในระดับ Master degree by coursework

ทุกสาขาการเรียนและมหาวิทยาลัยที่คุณหมอวีซ่าแนะนำล้วนให้อนาคตที่สดในกับน้องๆทั้งสิ้น ก็อยากเชียร์ให้มาลงทะเบียนเรียนโทกันต่อที่ CP Sydney, Melbourne, Bangkok, Chiang Mai

สมัครฟรีกับสถาบันตลอดเดือน June 2010 ที่ CP ทุกสาขานะคะ ไว้พบกันค่ะ

Bangkok Office:


Shop 217, Level 2 Plaza, United Centre Building,

323 Silom Road, Bangkok 10500

(+66 2) 635 5445



Chiang Mai Office:

313/2-3 Moo3,Chiang Mai 89 Plaza,

Chiang Mai-Lumphan Road,

T.Nong Hoi, A.Muang,

Chiang Mai 50000

(+66 53) 334 222



Sydney Office:

Suit 1,Level 6, Labor Council Bldg.,

383 Sussex St, Sydney NSW 2000

(+61 3) 9267 8522



Melbourne Office:

Suit 1003,10 Fl, Equitable House

343 Little Collins St (Cnr Elizabeth St)

Melbourne, VIC 3000

(+61 3) 9602 5355

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Bank ที่ออสเตรเลีย

การเปิดบัญชีธนาคารในออสเตรเลีย


 
นักเรียนมีสิทธิที่จะเปิดใช้บัญชีธนาคารและ ATM ภายใประเทศออสเตรเลียได้แต่ผู้ที่เปิดบัญชีจะต้องถือวีซ่านักเรียนของประเทศออสเตรเลียเท่านั้นและหลังจากนั้นน้องๆจะต้องแจ้งที่อยู่ปัจจุบันภายในออสเตรเลียให้ธนาคารทราบเนื่องจากทางธนาคารจะส่งบัตร ATM และรหัสผ่าน (Pin Number) มาให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ให้กับทางธนาคาร
 
สำหรับธนาคารที่นักเรียนไทยนิยมใช้กัน ได้แก่

 
สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับก็คือ น้องๆสามารถใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าครั้งต่อไปได้ สามารเอาไว้ทำสัญญาเช่าบ้านได้ และยังสามารถเอาไว้ยื่นขอเบอร์โทรศัพท์มือถือแบบระบบรายเดือนได้

 
เอกสารที่ต้องใช้

 
♦ เงินสดไม่ต่ำกว่า $100 ออสเตรเลียดอลลาร์ (บางธนาคารไม่จำเป็นต้องฝากเงินสดในครั้งแรกที่เปิดบัญชี)

 
♦ หนังสือเดินทาง

 
♦ จดหมายรับรองจากสถาบัน เช่น บัตรนักเรียน, จดหมายจากสถาบันที่ยืนยันว่าเป็นนักเรียนของสถาบันนั้นๆ, ใบ COE (Confirmation Of Enrolment)

 

 

 

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สอบถามเรื่องทะเบียนสมรส กับคุณหมอวีซ่า

ผมจดทะเบียนสมรสกับแฟนมาอยู่ที่นี่ แล้วแฟนผมหนีตามฝรั่งไป เค้าสามารถจดทะเบียนแล้วได้ PR ไหมครับ ทะเบียนสมรสที่เมืองไทย มีผลกับที่นี่ไหมครับ ชอบตอบด่วนหน่อยน่ะครับ ขอร้อง หรือใครรู้บ้าง ช่วยตอบด้วยน่ะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จาก PR อยากเป็น Australian Citizen…

     หลัง ๆ นี้ลูกค้านักเรียนของ CP หลายท่านที่ CP ได้มีส่วนช่วยนำทางจากการวางแผนการศึกษาจนสู่ PR ให้ได้จนสำเร็จ ได้สอบถามเรื่องอยากทำสัญชาติออสเตรเลียเพิ่มอีกหนึ่งสัญชาติจะได้ถือพาสปอร์ตออสเตรเลียได้เพิ่มอีก 1 เล่ม เพื่อความสะดวกในการเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกโดยไม่ต้องขอวีซ่า เช่น USA, UK, Canada, ญี่ปุ่น และประเทศในแถบยุโรป เป็นต้น CP จึงอยากบอกกฏกว้างๆ ผ่านคอลัมนี้ถึง eligibility ของ PR ทั้งหลายที่มีสิทธิ์ยื่นขอ Citizen ได้ดังนี้ (รายละเอียดเป็นรายบุคคลว่ามีสิทธิ์ยื่นได้แล้วยัง ก็ให้สอบถามเข้ามาที่ CP นะคะ):


1. ถ้าท่านได้เป็น PR ก่อนวันที่ 1 July 2007 และยื่นขอซิติเซ่นก่อนวันที่ 30 June 2010 ท่านจะต้องอาศัยอยู่ในออสเตรเลียเป็น PR มาแล้ว 2 ปีใน 5 ปีที่ผ่านมา + 1 ปีใน 2 ปีก่อนการยื่นเรื่อง (ต้องครบเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อจึงจะมีสิทธิ์ยื่นได้)

2. ถ้าท่านได้ PR หลังวันที่ 1 July 2007 ท่านจะต้องอยู่ Australia ด้วยวีซ่าที่ถูกต้องมาแล้วครบ 4 ปี (เช่นวีซ่าท่องเที่ยว นักเรียน นับรวมหมด) รวม 1 ปีต้องเป็น PR + ต้องอยู่ออสเตรเลียครบ 9 เดือนในปีสุดท้ายก่อนการยื่นเรื่อง และที่สำคัญต้องผ่านการทำข้อสอบ ซึ่งข้อสอบชุดใหม่ล่าสุดเพิ่งนำออกมาใช้เมื่อวันที่ 19 October 2009 สด ๆ ร้อน ๆ เป็น multiple-choice 20 ข้อ เน้นความเข้าใจในสิทธิ์และความรับผิดชอบในการเป็นราษฎรชาวออสเตรเลียซึ่งรวมเรื่องความเชื่อในระบอบประชาธิปไตย กฏหมาย วัฒนธรรมและรัฐบาล เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น

1) คำถามเกี่ยวกับ Anzac Day
2) สีของธงชาวอะบอริจิ้นของออสเตรเลีย
3) สัญญลักษณ์ของรัฐบาล Commonwealth
4) ความรู้เรื่องพาสปอร์ตออสเตรเลีย
5) วันที่ 1 January 1901 สำคัญอย่างไร
6) Governor – General หรือท่านข้าหลวงฯ มีบทบาทอย่างไร

เป็นต้น ก็ขอให้ขยันอ่านกันซักนิด ก็สามารถตอบได้อย่างง่าย ๆ ขอให้โชคดี ได้เป็น citizens กันมาก ๆ และไวไวนะคะ

eVisa Agents แปลว่าอะไร ? สำคัญไหม ? มีส่วนช่วยให้วีซ่าของคุณผ่านง่ายขึ้นจริงไหม ?

      ระยะหลัง ๆ นี้ คุณหมอวีซ่าจะมีลูกค้าเข้ามาให้ช่วยแก้ไขวีซ่าของลูกหลานหรือพี่น้องที่ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนจากเมืองไทยโดยตรงหลายราย โดยเฉพาะจากจังหวัดแถบภาคเหนือ จึงไม่สามารถเข้ามาเรียนหนังสือต่อในออสเตรเลียได้ ฟังดูแล้วก็ไม่แปลกใจเลย เรื่องของเรื่องก็คือ ครั้งหนึ่งรัฐบาลออสเตรเลียเคยปล่อยให้กฏหมายเกี่ยวกับวีซ่านักเรียนหละหลวม คือทำให้มันง่ายขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คนต่างชาติเข้ามาเรียนหนังสือกันในออสเตรเลียมากๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ กระทั่งอนุญาตให้เอาแฟนมาเป็นผู้ติดตามได้อย่างง่ายดาย (ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ตาม) แต่ที่น่าเศร้าก็คือ พอรัฐบาลใจดี คนก็เอาเปรียบและเริ่มทำในสิ่งที่ผิด ๆ โดยใช้ช่องทางแปลก ๆ มาหลอกลวงรัฐบาลฯ อย่างเช่น นักเรียนหลายคนรู้ว่าทำวีซ่าติดตามยากเพราะสถานทูตที่เมืองไทยขอดูเอกสารละเอียดและต้องผ่านการสัมภาษณ์ซะเป็นส่วนใหญ่ เอเย่นหัวใสทั้งปวงก็เลยทำให้เด็กเข้ามาเป็นวีซ่านักเรียนก่อน พอมาถึงยังไม่ทันเริ่มเรียน ก็ให้ไปจดทะเบียนสมรสปลอมเพื่อยื่นวีซ่าติดตามและไปถอนคอร์ส ถอนค่าเรียนคืนเพื่อออกไปทำงาน ไม่ต้องเรียนหนังสือกัน การทำเช่นนี้ก็เสมือนเป็นการหลอกลวงและละเมิดกฎหมายนั่นเอง ในอนาคตอันใกล้ ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป อิมฯก็จะต้องมีมาตรการจัดการใหม่ๆขึ้นมาอย่างแน่นอนเป็นวงจรเช่นนี้


eVisa agents เป็นใคร?

ความจริงแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลออสเตรเลียได้ริเริ่มโครงการแต่งตั้งเอเย่นทางการศึกษาในประเทศไทย จีน และอินเดียจำนวนจำกัดที่เรียกว่า Offshore Student eVisa agents ให้มี log in ID และ Password พิเศษ และสามารถยื่นวีซ่านักเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องนำฟอร์มไปยื่นที่สถาณทูตฯ การอำนวยความสะดวกให้กับเอเย่นที่ทางอิมมิเกรชั่นแต่งตั้งขึ้นมาก็ทำให้มีความสะดวกสบายและทำให้การ process วีซ่านักเรียนเร็วขึ้น สำหรับประเทศไทย ก็เริ่มจากการแต่งตั้งเอเย่นเพียง 6 เจ้าเพื่อทดลองโครงการริเริ่มในครั้งนั้น (CP Education & Migration Service ก็เป็น 1 ใน 6 เจ้าแรกที่ได้รับการแต่งตั้งในระยะแรกเริ่มนี้) จนปัจจุบันมี eVisa agents อยู่ประมาณ 59 เจ้าทั่วประเทศไทย แต่ที่น่าเสียดายก็คือ เอเย่นหลาย ๆ เจ้าในอดีตได้ถูกสอบสวนและโดนเพิกถอนใบอนุญาตไป เพราะไม่ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับอิมฯ หรือมักชอบไปทำผิดเงื่อนไข อย่างเช่น ส่งเอกสารปลอมแปลงบ้าง ไม่ได้ดูรายละเอียดสเตดเม้นท์การเงินตามที่กฏหมายเรียกร้องบ้าง ส่งเอกสารไม่ครบบ้าง มีอัตราการผ่านวีซ่าต่ำกว่า 90% บ้าง จนรัฐบาลฯต้องออกมาสอบสวนและควบคุมกันเป็นยกใหญ่ และที่น่ากลัวมาก ๆ คือเที่ยวแจกจ่าย log in user name กับ password ให้เพื่อนฝูง หรือ sub-agents อื่น ๆ แบ่งใช้กันเป็นว่าเล่น จนเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2009 ที่ผ่านมา รัฐบาลออสเตรเลียก็ได้ออกจดหมายยกเลิก eVisa agents ไปหลายเจ้า ทำให้เอเย่นการศึกษาเจ้าใหม่ ๆ ที่อยากเข้ามาในวงการนี้พลอยขอใช้เครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้ยากเป็นเงาตามตัวไปด้วย

สำหรับเอเย่นที่ถือใบอนุญาตเป็น Registered Migration Agents (จะสังเกตมีเลขหมายอนุญาตติดตัวขึ้นด้วยคำนำหน้า MARN ซึ่งย่อมาจาก Migration Agents Registration Number เช่นของคุณหมอวีซ่าจะเป็น MARN 9896337เป็นต้น) กฎหมายออสเตรเลียจะรับให้เป็น eVisa agents ได้โดยอัติโนมัติ

การได้รับแต่งตั้งให้เป็น eVisa Agents นั้นสำคัญไฉน?

สำคัญซิคะ เพราะเป็น agents ที่ผ่านการคัดเลือกและกลั่นกรองโดยอิมมิเกรชั่นมาแล้วขั้นหนึ่งแล้วว่าเป็นเอเย่นที่อยู่ในระดับแนวหน้า ได้รับการไว้วางใจจากอิมมิเกรชั่นให้ช่วยกรองเคส คัดและจัดเอกสารที่ถูกต้องเพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่สถานทูตฯได้ อย่างเช่นเรื่องสเต๊ทเมนท์การเงิน eVisa Agents ก็เพียงเซ็นรับรองว่าเห็นแล้ว ตรวจแล้ว ไม่ต้องส่งตัวจริงหรือสำเนาเข้าสถานทูตฯ และเมื่อตรวจเอกสารครบถ้วน วีซ่าก็มีสิทธิ์ผ่านทางเน๊ตได้เลย จึงเรียกว่าสะดวกและเร็วขึ้น

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า ปัจจุบันมีเอเย่นการศึกษาผุดเกิดเปิดกันเป็นดอกเห็ด ส่วนใหญ่จะเน้นการขายคอร์สถูกๆและการตลาดมากๆ มีอ๊อฟฟิสเปิดสาขากันเต็มไปหมด แต่มักมีปัญหาตรงที่วีซ่าไม่ผ่านบ้าง ออกช้าเกินเหตุบ้าง แนะแนวผิดๆบ้าง ความรู้ด้านวีซ่าไม่แข็ง ฯลฯ เป็นต้น จะมีประโยชน์อะไรหากคุณต้องเสียค่าเล่าเรียนไปมากมายก่ายกอง แต่ไม่ได้วีซ่าเข้าไปเรียนเมืองนอก ดังนั้น แก่นที่สำคัญก็ยังคงอยู่ที่ วีซ่าต้องผ่านนั่นเอง อนาคตของคุณจึงจะ sure! เปรียบเสมือนกับการเปิดร้านอาหารที่แข่งกันเปิดเต็มไปหมด จัดหน้าร้านซะสวยหรู แต่ในครัว cook กันไม่เป็น อาหารไม่ได้มาตรฐาน ลูกค้ากินครั้งเดียว ก็ไม่กลับมาอีกแล้ว ในที่สุดร้านก็ไปไม่รอด นั่นเอง!

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนใกล้จบ 2 ปีแล้ว แต่รัฐบาลฯเพิ่งประกาศ Priority processing แปลว่าอะไร? ยังขอ PR ได้อยู่หรือไม่ - น่าเป็นห่วงจัง!

คุณหมอวีซ่า 7 Oct 09


เรียนใกล้จบ 2 ปีแล้ว แต่รัฐบาลฯเพิ่งประกาศ Priority processing แปลว่าอะไร? ยังขอ PR ได้อยู่หรือไม่ - น่าเป็นห่วงจัง!

วันนี้กำลังจะขึ้นเครื่อง เดินทางกลับซิดนีย์ไปร่วมงาน มาริโอ้ ชิน และ รุท The star ในคืนพรุ่งนี้ 8 ต.ค 2009 รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้กระชากวัยซักคืนกับเด็กๆวัยสรุ่น! ก่อนเดินทางสดๆร้อนๆ ได้มีโอกาสให้คำปรึกษากับ Engineer จากไทยที่ทำงานในระดับ Engineer Manager แล้ว อายุ 44 ปี มีภรรยาและลูก 3 คนพ่วงตาม อยากอพยพไปอยู่ออสเตรเลียโดยอาศัยทักษะของตนเอง แต่ไม่เคยร่ำเรียนหรือทำงานในออสเตรเลียมาก่อน คุณหมอวีซ่าจึงได้พูดถึงกฎใหม่เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของการพิจารณาเรื่องหรือ Priority Processing List เกี่ยวกับวีซ่าทักษะหรือ GSM ที่รัฐบาลออสฯเพิ่งประกาศใช้เมื่อ 23 กันยายน 09 นี้ให้ฟัง จึงทำให้คิดถึงน้องๆทั้งหลายที่ใกล้จบในออสเตรเลียและอยากยื่น PR กันว่าการประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีผลต่อการยื่น PRของพวกเขากันอย่างไร?


เมื่อวันที่ 23 กันยายน 09 รัฐบาลฯได้ประกาศว่า วีซ่าทักษะหรือ General Skilled Migration (GSM) ที่ยื่นใน หรือหลังวันที่ 23 September 2009 นั้นให้มีการลำดับความสำคัญของการพิจารณาเรื่องดังนี้:

(1) ผู้มีนายจ้างออสเตรเลียสปอนเซอร์ หรือ ENS and RSMS - จะได้รับการพิจารณามาเป็นอันดับหนึ่ง - เจ้าหน้าที่อิมฯ ที่มาให้สัมมนากับพวกเราชาว MIA ท่านหนึ่งเคยบอกว่า สามารถผ่านได้ภายใน 48 ชั่วโมง ถ้าเอกสารมาอย่างครบถ้วนจริงๆ! (เชื่อได้ไม๊เนียะ?) แต่ตามประสบการณ์ ก็ผ่านเร็วภายใน 2 สัปดาห์ก็มีนะคะ
(2) ผู้เสนออาชีพที่ลงไว้ในรายการอาชีพที่ขาดแคลนอย่างแรงหรือ Critical Skills List (CLS) ที่มีรัฐบาลรัฐ (State/Territory) เป็นสปอนเซอร์ให้
(3) ผู้เสนออาชีพใน CLS ที่มีญาติ (ที่ถือสัญชาติ หรือ PR ออสเตรเลีย) เป็นสปอนเซอร์ให้
(4) ผู้เสนออาชีพใน CLS ที่ไม่มีสปอนเซอร์
(5) ผู้ไม่มีอาชีพใน CLS แต่มีรัฐบาลรัฐ (State/Territory) เป็นสปอนเซอร์ให้
(6) ผู้เสนออาชีพในรายการอาชีพที่ขาดแคลนหรือ Migration Occupations in Demand List (MODL)ทั้งที่มีและไม่มีญาติเป็นสปอนเซอร์ให้
(7) ผู้ยื่นวีซ่าทักษะอื่นๆ ทั้งหมดในสายอาชีพที่เหลือตามลำดับวันที่รับเรื่อง

Priority Processing List นี้ ใช้กับวีซ่าประเภท 134, 136, 137, 138, 139, 175, 176, 475, 485, 487, 495, 496, 497, 861, 862, 863, 880, 881, 882, 885, และ 886

ส่วนประเภทวีซ่าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศครั้งนี้ได้แก่ 476, 883, และ 887
และที่น่าสนใจและเป็นของใหม่ที่รัฐบาลฯแถมให้ ก็คือ Priority Processing สำหรับวีซ่า 485 ได้แก่นักศึกษาที่เรียนจบ 2 ปีแล้ว สอบ IELTS ได้ 6แล้ว แต่แต้มไม่ถึง และอยากยื่นขอวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนเพื่อทำงานต่อในออสเตรเลีย หรือเรียน Professional Year หรือพยายามไปสอบ IELTS ให้ได้ 7 เพื่อเพิ่มคะแนนให้ตนเองได้แต้มถึงเพียงพอสำหรับการยื่น PRได้ ลำดับความสำคัญของการอนุมัติวีซ่าสำหรับผู้ขอวีซ่า 485 ได้จัดไว้ดังนี้:

(1) ผู้จบ PhD ในสถาบันออสเตรเลีย - จะได้รับการพิจารณาก่อนเพื่อน
(2) ผู้เสนออาชีพใน CSL
(3) ผู้ที่จบทั้งตรี และโทจากสถาบันในออสเตรเลีย
(4) ผู้ที่จบ ป.ตรีและตรีเกียรตินิยม(อย่างน้อยต้องอันดับ2) จากสถาบันออสเตรเลีย
(5) ผู้จบ ตรีหรือ โททั่วไปจากสถาบันออสเตรเลีย
(6) ผู้ยื่นเรื่อง 485 อื่นๆตามลำดับวันที่รับเรื่อง

นานเท่าไรจึงได้ PR?

อิมมิเกรชั่นฯบอกว่า:
- ผู้สมัครที่มีอาชีพใน CLS: ภายใน 12 เดือน
- ผู้สมัครที่อาชีพไม่ได้อยู่ใน CLSที่ขอมาจากต่างประเทศ (Offshore) หรือผู้ที่ตั้งใจจะยื่น offshore GSM ก่อนสิ้นปี 2009 – คงต้องรอไปจนสิ้นปี 2012 จึงจะได้รับการพิจารณา
- ผู้สมัครที่อาชีพไม่ได้อยู่ใน CLS และได้ยื่นขอภายในประเทศออสเตรเลีย (Onshore) ก่อนสิ้นปี2009 – คงต้องรอไปจนถึงสิ้นปี 2011 เป็นอย่างเร็ว
จะเห็นได้ว่าช่วงยุคเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลฯก็เปลี่ยนกฎเกณฑ์ไปตามยุคสมัย คุณหมอวีซ่าจึงได้บอกกับหนุ่มใหญ่ Engineer วัย 44 ปีที่อยากเดินเรื่องว่าต้องรีบหน่อยนะคะ ไปเร่งสอบ IELTSให้ได้ 6 ภายในเวลาอีก 1 ปีข้างหน้าก่อนอายุจะครบ 45 ปีจะได้รับดำเนินเรื่องให้ เพราะเผอิญเขาเป็น Production Engineer ซึ่งอาชีพอยู่ใน CLS เสียด้วย แถมยังมีน้องๆเป็น Australian citizens ด้วยอีก ไม่ได้ทำไว้คงจะเสียดายน่าดู เพราะถ้าได้อพยพไปเป็น PR กันทั้งครอบครัว นอกจากทั้ง 2 สามีภรรยาจะได้ทำงาน Full-time หาเงินเป็นดอลล่าร์แล้ว ลูก 3 คนก็ได้เรียนฟรีหมดได้ Medicare ทั้งบ้าน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าส่งลูกไปเรียนนอกทั้ง 3 คน คนค่าใช้จ่ายจะแพงกว่ามากๆเลยค่ะ! ผู้ใดที่มีญาติอยู่ออสเตรเลีย และอยากได้ลูกหลานญาติพี่น้องมาอยู่ด้วย หรืออยากสร้างอนาคตที่ดีให้พวกเขา ก็ลองเข้ามาสอบถามที่อ๊อฟฟิสของคุณหมอวีซ่าได้นะคะ จะได้ชี้แนะหนทางที่ถูกต้องให้ค่ะ...