วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนใกล้จบ 2 ปีแล้ว แต่รัฐบาลฯเพิ่งประกาศ Priority processing แปลว่าอะไร? ยังขอ PR ได้อยู่หรือไม่ - น่าเป็นห่วงจัง!

คุณหมอวีซ่า 7 Oct 09


เรียนใกล้จบ 2 ปีแล้ว แต่รัฐบาลฯเพิ่งประกาศ Priority processing แปลว่าอะไร? ยังขอ PR ได้อยู่หรือไม่ - น่าเป็นห่วงจัง!

วันนี้กำลังจะขึ้นเครื่อง เดินทางกลับซิดนีย์ไปร่วมงาน มาริโอ้ ชิน และ รุท The star ในคืนพรุ่งนี้ 8 ต.ค 2009 รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้กระชากวัยซักคืนกับเด็กๆวัยสรุ่น! ก่อนเดินทางสดๆร้อนๆ ได้มีโอกาสให้คำปรึกษากับ Engineer จากไทยที่ทำงานในระดับ Engineer Manager แล้ว อายุ 44 ปี มีภรรยาและลูก 3 คนพ่วงตาม อยากอพยพไปอยู่ออสเตรเลียโดยอาศัยทักษะของตนเอง แต่ไม่เคยร่ำเรียนหรือทำงานในออสเตรเลียมาก่อน คุณหมอวีซ่าจึงได้พูดถึงกฎใหม่เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของการพิจารณาเรื่องหรือ Priority Processing List เกี่ยวกับวีซ่าทักษะหรือ GSM ที่รัฐบาลออสฯเพิ่งประกาศใช้เมื่อ 23 กันยายน 09 นี้ให้ฟัง จึงทำให้คิดถึงน้องๆทั้งหลายที่ใกล้จบในออสเตรเลียและอยากยื่น PR กันว่าการประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีผลต่อการยื่น PRของพวกเขากันอย่างไร?


เมื่อวันที่ 23 กันยายน 09 รัฐบาลฯได้ประกาศว่า วีซ่าทักษะหรือ General Skilled Migration (GSM) ที่ยื่นใน หรือหลังวันที่ 23 September 2009 นั้นให้มีการลำดับความสำคัญของการพิจารณาเรื่องดังนี้:

(1) ผู้มีนายจ้างออสเตรเลียสปอนเซอร์ หรือ ENS and RSMS - จะได้รับการพิจารณามาเป็นอันดับหนึ่ง - เจ้าหน้าที่อิมฯ ที่มาให้สัมมนากับพวกเราชาว MIA ท่านหนึ่งเคยบอกว่า สามารถผ่านได้ภายใน 48 ชั่วโมง ถ้าเอกสารมาอย่างครบถ้วนจริงๆ! (เชื่อได้ไม๊เนียะ?) แต่ตามประสบการณ์ ก็ผ่านเร็วภายใน 2 สัปดาห์ก็มีนะคะ
(2) ผู้เสนออาชีพที่ลงไว้ในรายการอาชีพที่ขาดแคลนอย่างแรงหรือ Critical Skills List (CLS) ที่มีรัฐบาลรัฐ (State/Territory) เป็นสปอนเซอร์ให้
(3) ผู้เสนออาชีพใน CLS ที่มีญาติ (ที่ถือสัญชาติ หรือ PR ออสเตรเลีย) เป็นสปอนเซอร์ให้
(4) ผู้เสนออาชีพใน CLS ที่ไม่มีสปอนเซอร์
(5) ผู้ไม่มีอาชีพใน CLS แต่มีรัฐบาลรัฐ (State/Territory) เป็นสปอนเซอร์ให้
(6) ผู้เสนออาชีพในรายการอาชีพที่ขาดแคลนหรือ Migration Occupations in Demand List (MODL)ทั้งที่มีและไม่มีญาติเป็นสปอนเซอร์ให้
(7) ผู้ยื่นวีซ่าทักษะอื่นๆ ทั้งหมดในสายอาชีพที่เหลือตามลำดับวันที่รับเรื่อง

Priority Processing List นี้ ใช้กับวีซ่าประเภท 134, 136, 137, 138, 139, 175, 176, 475, 485, 487, 495, 496, 497, 861, 862, 863, 880, 881, 882, 885, และ 886

ส่วนประเภทวีซ่าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศครั้งนี้ได้แก่ 476, 883, และ 887
และที่น่าสนใจและเป็นของใหม่ที่รัฐบาลฯแถมให้ ก็คือ Priority Processing สำหรับวีซ่า 485 ได้แก่นักศึกษาที่เรียนจบ 2 ปีแล้ว สอบ IELTS ได้ 6แล้ว แต่แต้มไม่ถึง และอยากยื่นขอวีซ่าชั่วคราว 18 เดือนเพื่อทำงานต่อในออสเตรเลีย หรือเรียน Professional Year หรือพยายามไปสอบ IELTS ให้ได้ 7 เพื่อเพิ่มคะแนนให้ตนเองได้แต้มถึงเพียงพอสำหรับการยื่น PRได้ ลำดับความสำคัญของการอนุมัติวีซ่าสำหรับผู้ขอวีซ่า 485 ได้จัดไว้ดังนี้:

(1) ผู้จบ PhD ในสถาบันออสเตรเลีย - จะได้รับการพิจารณาก่อนเพื่อน
(2) ผู้เสนออาชีพใน CSL
(3) ผู้ที่จบทั้งตรี และโทจากสถาบันในออสเตรเลีย
(4) ผู้ที่จบ ป.ตรีและตรีเกียรตินิยม(อย่างน้อยต้องอันดับ2) จากสถาบันออสเตรเลีย
(5) ผู้จบ ตรีหรือ โททั่วไปจากสถาบันออสเตรเลีย
(6) ผู้ยื่นเรื่อง 485 อื่นๆตามลำดับวันที่รับเรื่อง

นานเท่าไรจึงได้ PR?

อิมมิเกรชั่นฯบอกว่า:
- ผู้สมัครที่มีอาชีพใน CLS: ภายใน 12 เดือน
- ผู้สมัครที่อาชีพไม่ได้อยู่ใน CLSที่ขอมาจากต่างประเทศ (Offshore) หรือผู้ที่ตั้งใจจะยื่น offshore GSM ก่อนสิ้นปี 2009 – คงต้องรอไปจนสิ้นปี 2012 จึงจะได้รับการพิจารณา
- ผู้สมัครที่อาชีพไม่ได้อยู่ใน CLS และได้ยื่นขอภายในประเทศออสเตรเลีย (Onshore) ก่อนสิ้นปี2009 – คงต้องรอไปจนถึงสิ้นปี 2011 เป็นอย่างเร็ว
จะเห็นได้ว่าช่วงยุคเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลฯก็เปลี่ยนกฎเกณฑ์ไปตามยุคสมัย คุณหมอวีซ่าจึงได้บอกกับหนุ่มใหญ่ Engineer วัย 44 ปีที่อยากเดินเรื่องว่าต้องรีบหน่อยนะคะ ไปเร่งสอบ IELTSให้ได้ 6 ภายในเวลาอีก 1 ปีข้างหน้าก่อนอายุจะครบ 45 ปีจะได้รับดำเนินเรื่องให้ เพราะเผอิญเขาเป็น Production Engineer ซึ่งอาชีพอยู่ใน CLS เสียด้วย แถมยังมีน้องๆเป็น Australian citizens ด้วยอีก ไม่ได้ทำไว้คงจะเสียดายน่าดู เพราะถ้าได้อพยพไปเป็น PR กันทั้งครอบครัว นอกจากทั้ง 2 สามีภรรยาจะได้ทำงาน Full-time หาเงินเป็นดอลล่าร์แล้ว ลูก 3 คนก็ได้เรียนฟรีหมดได้ Medicare ทั้งบ้าน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าส่งลูกไปเรียนนอกทั้ง 3 คน คนค่าใช้จ่ายจะแพงกว่ามากๆเลยค่ะ! ผู้ใดที่มีญาติอยู่ออสเตรเลีย และอยากได้ลูกหลานญาติพี่น้องมาอยู่ด้วย หรืออยากสร้างอนาคตที่ดีให้พวกเขา ก็ลองเข้ามาสอบถามที่อ๊อฟฟิสของคุณหมอวีซ่าได้นะคะ จะได้ชี้แนะหนทางที่ถูกต้องให้ค่ะ...

ไม่มีความคิดเห็น: